วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

กรวยประสบการณ์ Edgar Dale

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อต่างๆ  ที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน  หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนใช้ศึกษาความรู้ด้วยตนเอง  นักวิชาการได้จำแนกสื่อการสอนตามประเภท  ลักษณะและวิธีการใช้ดังนี้

สื่อโสตทัศน์
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน  โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ  สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม  เช่น  หนังสือตำราเรียน  ภาพ  ของจริง  ของจำลอง  จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง  ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหาและเนื้อหาและวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้โรเบิร์ต อี. เดอ  คีฟเฟอร์  (Robert  E.  de  Kieffer)  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  2  ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า  สื่อโสตทัศน์  (audiovisual  materials)ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ  คีฟเฟอร์  ได้กล่าวไว้ทั้ง  3  ประเภท  ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1.  สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected  materials)  เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้องใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่สื่อภาพ (illustrative  materials)  เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา  เช่น  ภาพกราฟิก  กราฟ  แผนที่  ของจริง  ของจำลอง  กระดานสาธิต  (demonstration  boards)  ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา  เช่นกระดานชอล์ก  กระดานนิเทศ  กระดานแม่เหล็ก  กระดานผ้าสำลี  ฯลฯ  และกิจกรรม(activites
2. สื่อเครื่องฉาย  (projected  and  equipment)  เป็นวัสดุและอุปกรณ์  อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง  อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์  หรือให้ทั้งภาพและเสียง  เช่น  เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม  เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี  เหล่านี้เป็นต้น  นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ  คือ  เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี  เข้าไว้ในเครื่องด้ว เพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3.  สื่อเสียง   (audio  materials  and  equipment)  เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์            เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน  เช่น  เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี  เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง  หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง

สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้
การแบ่งประเภทของสื่อการสอน  ถ้าแบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน  ซึ่ง  เดล(Dale 1969:107)  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  10  ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า กรวยประสบการณ์  (Cone of  Experience)  


ขั้นที่1  ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย  (Direct  Purposeful  Experience)  เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง  เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้เห็น  ได้ยินเสียง  ได้สัมผัสด้วยตนเอง  เช่น  การเรียนจากของจริง  (Real  object)  ได้ร่วม  กิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ  เป็นต้น
ขั้นที่  2  ประสบการณ์จำลอง  (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen)  เป็นต้น

ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและไม่สามารถ  ใช้ประสบการณ์จำลองได้  เช่น  การละเล่นพื้นเมือง  ประเพณีต่างๆ  เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration)  คือ การอธิบายข้อเท็จจริง  ความจริง  และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น  การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต  นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์  สไลด์และฟิล์มสตริป  แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้
                ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)  การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน  ได้แก่  การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ  เช่น  โบราณสถาน  โรงงาน  อุตสาหกรรม  เป็นต้น
                ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition)  คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ  รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน  ได้แก่  การจัดป้ายนิทรรศการ  การจัดแสดงผลงานนักเรียน
                ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television)  ผู้เรียนได้เรียนด้วยการเห็นและได้ยินเสียงเหตุการณ์  และเรื่องราวต่างๆ  ได้มองเห็นภาพในลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนจริง        ไปพร้อมๆกัน
                ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture)  ได้แก่  เทปบันทึกเสียง  แผ่นเสียง  วิทยุ  ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง  ส่วนภาพนิ่ง  ได้แก่  รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ(Overhead  projector)  สไลด์ (Slide)  ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์  และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง(Overhead  projector
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol)  มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น  จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน  ในการเลือกนำไปใช้  สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้  คือ  แผนภูมิ  แผนสถิติ  -ภาพโฆษณา  การ์ตูน  แผนที่  และสัญลักษณ์ต่างเป็นต้น
                ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol)  เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย  ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด  ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง  ได้แก่  การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด

สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้
ทรัพยากร  หมายถึง  สิ่งทั้งปวงที่มีค่า  ทรัพยากรการเรียนรู้  (learning  resources)  จึงหมายถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่คนประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนรู้  โดนัลด์  พี.  อีลี  (Donald  P.  Ely)  (Ely,  1972:36:42)  ได้จำแนกสื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้  5  รูปแบบ  โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อ  จุดมุ่งหมายทางการศึกษา (by  design)  และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by  utiliegation)  ได้แก่
1.  คน  (people)  คน  ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น  หมายถึง  บุคคลที่อยู่ในระบบของโรงเรียน  ได้แก่  ครู  ผู้บริหาร  ผู้แนะนำการศึกษา  ผู้ช่วยสอน  หรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ส่วน  คน  ตามความหมายของการประยุกต์ใช้  ได้แก่คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป  คนเหล่านี้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งถึงแม้มิใช่นักศึกษาแต่สามารถจะช่วยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยาการเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน  อาทิเช่น  ศิลปิน  นักการเมือง  นักธุรกิจ  ช่างซ่อมเครื่อง
2.  วัสดุ(materials)   ในการศึกษาโดยตรงเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนโดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง  เช่น  หนังสือ  สไลด์  แผนที่  แผ่นซีดี  หรือสื่อต่างๆที่เป็นทรัพยากรในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวเพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุในวัสดุส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง  เช่น  คอมพิวเตอร์  หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์สิ่งเหล่านี้ถูกมองไปในรูปแบบของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน
3.  อาคารสถานที่  (settings)  หมายถึง  ตัวตึก  ที่ว่าง  สิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีผลเกี่ยวกับทรัพยากรรูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาแล้วและมีผลกับผู้เรียนด้วย  สถานที่สำคัญในการศึกษา  ได้แก่ตึกเรียนและสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยรวม  เช่นห้องสมุด  หอประชุม  ส่วนสถานที่ต่างๆ          ในชุมชนก็สามารถประยุกต์ให้เป็นทรัพยากรสื่อสารเรียนการสอน  ได้เช่น  โรงงาน  ตลาด  สถานที่ ทาง ประวัติศาสตร์เช่น  พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น
4.  เครื่องมือและอุปกรณ์  (tools  and  equipment)  เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ  ส่วนมากมักเป็น  โสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ  ที่นำมา           ใช้ประกอบหรืออำนวยความสะอาดในการเรียนการสอน  เช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะ  คอมพิวเตอร์  เครื่องถ่ายเอกสาร  หรือแม้แต่ตะปู  ไขควง  เหล่านี้เป็นต้น
5.  กิจกรรม (activities)  โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมักจัดขึ้นเพื่อร่วมกระทำทรัพยากรอื่นๆ  หรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน  เช่น  เกม  การสัมมนา  การจัดทัศนศึกษา  กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้น  โดยมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชา  หรือวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน
หลักการใช้สื่อการสอน

                ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่าจะใช้สื่อประเภทใดบ้างในการสอนเพื่อให้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุด  ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้ 
                -  เตรียมตัวผู้สอน  เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน  ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง  ครบถ้วน  และตรงกับที่ต้องการหรือไม่  ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ควร  ผู้สอนจะเพิ่มโดยวิธีใดในจุดไหนบ้าง  จะมีวิธีใช้สื่ออย่างไร  เช่น  ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนำบทเรียนที่จะสอน แล้วอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น  ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวีดิทัศน์เพื่อเสริมความรู้  และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ในโปรแกรม  PowerPoint  อีกครั้งหนึ่งดังนี้ เป็นต้น  ขั้นตอนเหล่านี้ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อได้ถูกต้อง
                -  เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  โดยการจัดเตรียมวัสดุ  เครื่องมือ  และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม  ตลอดจนต้องเตรียมสถานที่หรือห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมด้วย  เช่น  มีปากกาเขียนแผ่นโปร่งใสพร้อมแผ่นโปร่งใส  แถบวีดิทัศน์ที่นำมาฉายมีการกรอกกลับตั้งแต่ต้นเรื่องโทรทัศน์ต่อเข้ากับเครื่องเล่นวีดิทัศน์เรียบร้อย  ที่นั่งของผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสม  ฯลฯ  สภาพแวดล้อมและ             ความพร้อมต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่เสียเวลา
                -  เตรียมพร้อมผู้เรียน  เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่างไร  เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมในการฟังดู  หรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีและสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้  หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเองผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง  เช่น  มีการทดสอบ  การอภิปราย  การแสดง  หรือการปฏิบัติ  ฯลฯ  เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
                        -  การใช้สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น  และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง  ตัวอย่างเช่น  ในการฉายวีดิทัศน์  ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออกทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน  ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวนห้องเรียนอื่นหรือค่อยเกินไปจนผู้เรียนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ได้ยิน  ดูว่ามีแสงตกลงบนพื้นจอหรือไม่  หากใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะต้องปรับระยะเครื่องฉายไม่ให้ภาพเบี้ยว  (keystone  effect)  ดังนี้เป็นต้น 
                -  การประเมินติดตามผล  หลังจากมีการเสนอสื่อแล้ว  ควรมีการประเมินและติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม  อภิปราย  หรือเขียนรายงาน  เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่  เพื่อผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการสอนของตน
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
                การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
                -  ขั้นนำสู่บทเรียน  เพื่อกระตุ้นให้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ  หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกจริง  อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิด  และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น  เช่น  ภาพ  บัตรคำ  หรือเสียง  เป็นต้น
-  ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะจะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ผู้สอนจึงต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้  ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน  การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน  เช่น  ของจริง  แผ่นโปร่งใส  กราฟ  วีดิทัศน์  แผ่นวีซีดี  หรือการทัศนศึกษานอกสถานที่  เป็นต้น 
ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฏีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือ ฝึกปฏิบัติเอง  สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหา  เทปเสียง  สมุดแบบฝึกหัด  ชุดการเรียน  หรือบทเรียนซีเอไอ  เป็นต้น
-  ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้           ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาน้อย  เช่น  แผนภูมิ  โปร่งใส  กราฟ  เป็นต้น
-  ขั้นประเมินผู้เรียน  เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด  และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่  สื่อในขั้นประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้  อาจนำบัตรคำหรือสื่อที่ใช้ขั้นกิจกรรมการเรียนมาถามอีกครั้งหนึ่ง  และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทำของผู้เรียนเพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียนสามารถมีทักษะจากการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

วิธีสอนโดยใช้การสาธิต(Demonstration)
ความหมาย
                วิธีสอนโดยใช้การสาธิต  คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยการแสดงหรือทำสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตดู  แล้วให้ผู้เรียนซักถาม  อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกตการสาธิต
วัตถุประสงค์
                วิธีสอนโดยใช้การสาธิตเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง  ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องหรือการปฏิบัตินั้นชัดเจนขึ้น
องค์ประกอบสำคัญ ของวิธีสอน
                1. มีเรื่องหรือสิ่งที่จะสาธิต
                2. มีการแสดง/การทำ/ให้ผู้เรียนสังเกตดู
                3. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาการสาธิต
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
                1. ผู้สอนแสดงการสาธิต  ผู้เรียนสังเกตการสาธิต
                2. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต
 เทคนิคต่างๆในการใช้วิธีสอนโดยใช้การสาธิตให้มีประสิทธิภาพ
                1. การเตรียมการ
ผู้สอนจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวพอสมควร  เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างสะดวกและราบรื่น  การเตรียมตัวที่สำคัญคือ ผู้สอนควรมีการซ้อมการสาธิตก่อนเพื่อจะได้เห็นปัญหา และเตรียมแก้ไข/ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ต่อไปจึงจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือ  และสถานที่ที่จะใช้ในการสาธิตและจัดวางไว้อย่างเหมาะสมสะดวกแก่การใช้ นอกจากนั้นควรจัดเตรียมแบบสังเกตการสาธิต และเตรียมคำถามหรือประเด็นที่จะให้ผู้เรียนได้ร่วมคิดและอภิปรายด้วย
                2. ก่อนการสาธิต
                ผู้สอนควรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สาธิตแก่ผู้เรียนอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสิ่งที่สาธิตได้ดี  โดยอาจใช้วิธีบรรยาย  หรือเตรียมเอกสารที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนให้ผู้เรียน  หรือใช้สื่อ เช่น วีดีโอ หรือผู้สอนอาจมอบหมายให้ผู้เรียนค้นหาเนื้อหาเรื่องที่สาธิตมาล่วงหน้า
3. การสาธิต
                ผู้สอนอาจใช้วิธีการบรรยายประกอบการสาธิต  การสาธิตควรเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน  ใช้เวลาอย่างเหมาะสม  ไม่เร็วเกินไป  ขณะสาธิตอาจใช้แผนภูมิ กระดานดำ หรือแผ่นใสประกอบ และควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม  หรือซักถามผู้เรียนเป็นระยะๆ เพื่อกระตุ้นความคิดและความสนใจของผู้เรียน  และในบางครั้งอาจให้ผู้เรียนบางคนมาช่วยสาธิตด้วย ผู้สอนต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย  และควรเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไว้ด้วย
4. การอภิปรายสรุปการเรียนรู้
                หลังจากการสาธิตแล้ว ผู้สอนควรให้ผู้เรียนรายงานสิ่งที่ได้สังเกตเห็นแลกเปลี่ยนกัน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม  ผู้สอนควรเตรียมคำถามไว้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดด้วย  ผู้เรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดที่แต่ละคนได้รับจากการสาธิตของผู้สอนและร่วมกันสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
6 ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยการสาธิต
                ข้อดี
                                1) เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง เห็นสิ่งที่เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม  ทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำในเรื่องที่สาธิตได้ดีและนาน
                                2) เป็นวิธีสอนที่ช่วยประหยัดเวลา  อุปกรณ์และค่าใช้จ่าย หากใช้ทดแทนการทดลอง
                                3) เป็นวิธีที่สามารถสอนผู้เรียนได้จำนวนมาก

ข้อจำกัด
                1) เป็นวิธีที่ผู้เรียนอาจไม่สังเกตเห็นการสาธิตอย่างชัดเจน  ทั่วถึง หากเป็นกลุ่มใหญ่
                2) เป็นวิธีที่ผู้สอนเป็นผู้สาธิต จึงอาจไม่เห็นพฤติกรรมของผู้เรียน
                3) เป็นวิธีที่ผู้เรียนอาจมีส่วนร่วมไม่ทั่วถึง  และมากพอ
                4) เป็นวิธีที่ผู้เรียนไม่ได้ลงมือทำเองจึงอาจไม่เกิดความรู้ที่ลึกซึ้งเพียงพอ


สื่อประเภทวัสดุกราฟิก

1. สื่อประเภทวัสดุกราฟิกจัดอยู่ในกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale ในประเภททัศนสัญลักษณ์ เพราะวัสดุกราฟิกเป็นสิ่งที่ใช้สื่อความหมายหรือเท็จจริง โดยเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา   เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ เป็นต้น

2. สื่อประเภทวัสดุกราฟิกมี 8 ชนิด  ได้แก่
แผนภูมิ
 แผนภูมิเป็นทัศนวัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ   โดยอาศัยเส้น ของตัวอักษร
และภาพลายเส้น หรือภาพโครงร่าง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในเรื่องราว
ประเภทของแผนภูมิ
          แผนภูมิแบ่งออกเป็น 9 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปแบบ และโครงสร้างที่แตกต่างกัน มีประโยชน์ต่อ
การใช้สอยแตกต่างกันได้แก่
แผนภูมิตาราง (Tabular Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลา กับเหตุการณ์ เช่น ตารางเรียน ตารางเวลารถไฟเข้าออก เป็นต้น
แผนภูมิแบบอธิบายภาพ(Illustrative Charts) ใช้แสดงส่วนต่างๆ ของภาพหรือบอกรายละเอียดของภาพ เช่น อวัยวะต่างๆ ของคน ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ เป็นต้น
แผนภูมิแบบต้นไม้(Tree Charts) ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเหมือนกับการแตกแขนงของกิ่งก้านของต้นไม้ โดยยึดหลักการแตกของกิ่งก้านเป็นหลัก หรือแนวเส้นของแผนภูมิ โดยจะแสดงให้เห็นว่า สิ่งหนึ่งสามารถจำแนกออกเป็นส่วนย่อยได้อีกหลายส่วน เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งออกไป เช่น การคมนาคมมี 3 ทางคือทางบก ทางน้ำ ทางอากาศเป็นต้น
แผนภูมิแบบสายธารา( Stream Charts)ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเปรียบเหมือนกับการรวมตัวของลำธารน้ำกลายเป็นลำคลอง และแม่น้ำที่กว้างใหญ่ขึ้น โดยจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจากหลายสิ่งรวมกัน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น คอมพิวเตอร์เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชิพ เมนบอร์ด จอภาพ ขนมปังเกิดจาก แป้ง ยีสต์ น้ำตาล เป็นต้น
แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ( Comparison Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของสองสิ่งทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ของสิ่งต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบการแต่งกายในสมัยต่างๆ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่   เป็นต้น
แผนภูมิแบบองค์การ( Organization Charts)
เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของสายงานในหน่วยงานหรือองค์การ นิยมใช้เส้นโยงความสัมพันธ์ ของหน่วยงานย่อย ที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงและใช้เส้นประ หรือเส้นจุดไข่ปลา แสดง ความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยที่ เกี่ยวข้องกันโดยอ้อม เช่น แผนภูมิแสดงสายงานการบริหารโรงเรียน เป็นต้น
แผนภูมิแบบต่อเนื่อง( Flow Charts)ใช้แสดงเรื่องราว กิจกรรม การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับต่อเนื่อง ตลอดจนการแสดง วงจรชีวิตที่เป็นลำดับต่อเนื่อง เช่น วงจรชีวิตของผีเสื้อ
แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ( Developmental Charts)สดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก
แผนภูมิขยายส่วน ( Enlarging Chartsz) เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นลายละเอียดของส่วนเล็ก ๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้นเน้นส่วนที่ต้องการ ให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยขยายเฉพาะบางส่วน เท่านั้น
ลักษณะของแผนภูมิที่ดี
-                   เป็นแบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนหรือยุ่งยาก
-                   แสดงแนวความคิดเพียงแนวคิดเดียว
-                   เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย ตรงกับวัตถุประสงค์
-                   สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน สร้างความประทับใจ
-                   มีขนาดใหญ่พอเหมาะกับกลุ่มผู้เรียน
-                   ใช้สีเรียบๆ เพียง 2-3 สี หรือใช้เพื่อเน้นความสนใจ
-                   ตัวอักษรที่ใช้ควรเป็นแบบที่อ่านง่าย ประณีตบรรจงและควรเป็นแบบเดียวกัน
-                   ชื่อเรื่องและเนื้อหาควรสอดคล้องกับภาพและใช้ตัวอักษรที่โตกว่าคำบรรยาย
-                   คำบรรยายควรใช้ข้อความสั้นๆ กะทัดรัด
-                   สัญลักษณ์หรือรูปภาพควรเป็นแบบง่ายๆ ไม่แสดงรายละเอียดมากนัก
ประโยชน์ของแผนภูมิต่อการเรียนการสอน
ใช้นำเข้าสู่บทเรียน จะช่วยกระตุ้นหรือ เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจ มาสู่เนื้อหา ที่กำลังจะเริ่มต้นใช้ ประกอบการอธิบาย แผนภูมิช่วยให้รายละเอียดของเนื้อหา ได้ชัดเจนกว่าคำอธิบาย ที่เป็นนามธรรมให้มี ความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากค้นคว้าหาความรู้ เพิ่มเติม ใช้คู่กับสื่อการสอนประเภทอื่นๆ อาจเป็นในรูปแบบของสื่อประสม ใช้สรุปหรือทบทวนบทเรียน ช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดแก่ผู้เรียน
การใช้แผนภูมิประกอบการเรียนการสอน
       -     มีข้อเสนอแนะในการนำแผนภูมิมาใช้ในการเรียนการสอนที่น่าสนใจดังนี้
-                   เลือกใช้แผนภูมิที่ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอน
-                   เตรียมห้องเรียน และเตรียมผู้เรียนโดยให้ศึกษาเนื้อหาล่วงหน้า
-                   เสนอแผนภูมิอย่างช้าๆ อธิบายให้ละเอียดและชัดเจน
-                   ควรใช้ไม้ชี้ประกอบการอธิบาย
-                   ใช้สื่อการสอนอื่นประกอบการใช้แผนภูมิด้วย
-                   ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการหาข้อมูลหรือจัดทำแผนภูมิ
-                   หลังสิ้นสุดการสอนควรทดสอบความเข้าใจ และติดแผนภูมิไว้ในห้องเรียนสักระยะหนึ่ง
-                   ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมประกอบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการย้ำเน้นของแผนภูมิและยังช่วยให้การสรุปบทเรียนมีคุณค่ายิ่งขึ้น
แผนภาพ  (Diagram)
 แผนภาพเป็นทัศนวัสดุที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น หรือเรื่องราว ต่างๆ โดยแสดงความสัมพันธ์ ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยภาพลายเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อแสดง ลักษณะเฉพาะ หรือโครงสร้างที่สำคัญเท่านั้น แผนภาพแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
              1. แผนภาพลายเส้น  เป็นแผนภาพที่ใช้ลายเส้น รูปทรง และข้อความประกอบกัน เหมาะสำหรับแสดงโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกพร้อมกับมีเส้นโยงแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งลักษณะและตำแหน่ง และความสัมพันธ์ ของภาพที่แสดง
                 2.แผ่นภาพแบบบล็อก  เป็นแผนภาพที่ใช้รูปทรงง่ายๆ แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอย่างหยาบๆ แสดงความสัมพันธ์ของระบบการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยไม่เน้นรายละเอียดของการทำงาน
3.แผนภาพแบบรูปภาพ  เป็นแผนภาพ ที่ใช้ลายเส้นเขียน เป็นภาพง่ายๆ แทนสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงต้องการให้ดูเหมือนหรือใกล้เคียงเท่านั้น ผู้ดูจะเกิด ความเข้าใจ ได้เองแผนภาพแบบนี้ จึงเหมาะ แก่การแสดง หลักการทำงาน ถ้าภาพ ที่วาดเหมือนจริง มากจะกลายเป็น แผนภูมิอธิบายภาพ
4. แผนภาพแบบผสม
                     เป็นแผนภาพ ที่ใช้เทคนิค การเขียนลายเส้น บนรูปภาพเพื่อเน้น ให้เห็นความสำคัญ เฉพาะ บางส่วน โดยเป็นการรวม ทั้งรูปภาพ และลายเส้น เข้าด้วยกัน
แผนสถิติ
        แผนสถิติเป็นทัศนวัสดุ ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณของข้อมูล ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นการแสดง แบบสรุป หรือรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ผู้ดูเข้าใจได้ง่าย ในเวลาอันรวดเร็ว
ประเภทของแผนสถิติ
       แผนสถิติสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของการนำเสนอเป็น 7 ชนิดคือ
1. แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area Graph) แผนสถิติแบบพื้นที่ เป็นแผนสถิติที่ใช้ขนาดของ พื้นที่ หรือรูปทรง เรขาคณิต แสดงปริมาณ ของข้อมูลต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบ จำนวน โดยอาจเกิด จากลายเส้น ของ แผนสถิติ แบบเส้น กับเส้นฐานแล้ว ระบายพื้นที่ เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ที่เกิดขึ้น หรือใช้รูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม แสดงปริมาณ เป็นภาพโครงร่าง ของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้ผู้ดู เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว
2. แผนสถิติแบบแท่ง(Bar Graph)  แผนสถิติแบบแท่ง เป็นแผนสถิติที่จัดทำได้ง่ายที่สุด และดูได้เข้าใจง่ายที่สุด โดยแสดงปริมาณหรือจำนวนของข้อมูลด้วยแท่งสี่เหลี่ยมซึ่งแต่ละแท่ง สี่เหลี่ยมแทนข้อมูลแต่ละข้อมูลมีขนาดกว้างเท่ากัน แต่ความสูงหรือความยาวของแท่งสี่เหลี่ยมแตกต่างกันซึ่งแผนสถิติแบบ แท่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ
2.1 แผนสถิติชนิดแท่งเดี่ยว แสดงการเปรียบเทียบจำนวนหรือปริมาณของข้อมูลด้วยท่าสี่เหลี่ยมแต่ละแท่งอาจอยู่ในแนวตั้งหรือ แนวนอนก็ได้ แต่อยู่ในทิศทางเดียวกั
2.2 แผนสถิติชนิดแบ่งส่วน ในแท่งสี่เหลี่ยมแต่ละแท่งแสดงจำนวนหรือปริมาณ ข้อมูลสองข้อมูลขึ้นไปโดยใช้สีเส้น หรือการแรเงาแสดงความแตกต่าง ของข้อมูลทั้งสอง
2.3 แผนสถิติชนิดสองด้าน ใช้เปรียบเทียบจำนวนของข้อมูลต่างๆ โดยแสดงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมทั้งสองด้านของ เส้นแกน แล้วใช้สี เส้นหรือการแรเงา แสดงความแตกต่างของข้อมูลแต่ละข้อมูล
                 3. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph) ดัดแปลงมาจากแผนสถิติแบบแท่งโดยใช้ภาพลายเส้นง่ายๆ แสดงความหมายของ ข้อมูลแทนการใช้แท่งสี่เหลี่ยม ซึ่งแต่ละภาพมีรูปร่างเหมือนกันและขนาดเท่ากัน ภาพหนึ่งๆ แทนจำนวนหรือปริมาณของข้อมูลโดยกำหนดอัตราส่วนที่แน่นอน ข้อดีของแผนสถิติแบบนี้จะสามารถดึงดูดความสนใจได้ดี เข้าใจง่ายและรวดเร็ว
                4. .แผนสถิติแบบวงกลม (Circle Or Pie Graph) ใช้แสดงอัตราส่วนที่เป็นร้อยละของข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบจำนวนหรือปริมาณ โดยแสดงเป็นภาพวงกลมซึ่งแทนจำนวนหรือปริมาณทั้งหมด (100 %) เท่ากับ 360 องศา แผนสถิติแบบวงกลมบางครั้งอาจทำเป็นชิ้นหนาและแบ่งชิ้นส่วนออกเป็นชิ้นย่อยๆ คล้ายกับขนมพายบางคนจึงเรียกว่า Pie Graph
 5. แผนสถิติแบบเส้น (Line Graph)   เป็นแบบที่แสดงข้อเท็จจริงของข้อมูลได้ละเอียดและถูกต้องที่สุดลายเส้นที่แสดงอาจเสนอการเปลี่ยนแปลงชองข้อมูลเดียว หรือเปรียบเทียบหลายข้อมูลก็ได้ลักษณะประกอบด้วยเส้นแกนต้องและแกนนอนตั้งฉากกันอยู่ทั้งสองแกนแทนข้อมูลสองข้อมูลเกี่ยวข้องกัน
 6. แผนสถิติแบบกำหนดจุด (ScatterPlot)
สรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับแผนสถิติ
1. แผนสถิติแบบวงกลมเป็นแผนสถิติที่มีรูปทรงง่ายที่สุดเหมาะสำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนย่อยกับข้อมูลส่วนใหญ่
2. แผนสถิติแบบเส้นเป็นแบบที่แสดงข้อมูลได้ถูกต้องที่สุดและชัดเจนที่สุด
3. แผนสถิติแบบพื้นที่เป็นการเสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้เร็ว แต่หารายละเอียดได้น้อย
4. แผนสถิติแบบแท่งหรือตารางสถิติแบบสั้นจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้ามีคำบรรยายประกอบ
5.แผนสถิติแบบรูปภาพควรเสนอในแนวนอน
ลักษณะของแผนสถิติที่ดี
1. แผนสถิติหนึ่งๆ ไม่ควรแสดงความสัมพันธ์หรือเปรียบเทียบข้อมูลหลายข้อมูลเกินไป
2. ควรมีชื่อเรื่องของแผนสถิติ
3. ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ ควรมีขนาดโตพอสมควร มีความสวยงาม
4. ถ้ามีการใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ตัวเลขหรือสี ควรแสดงความหมายใดๆ อย่างชัดเจน
5. ใช้สีหรือลวดลายเพื่อแสดงความแตกต่างบอกแหล่งที่มาของข้อมูล
แผนที่
        แผนที่เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้น สี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วนเพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว
ประเภทของแผนที่
จำแนกตามลักษณะการใช้
-                   แผนที่ดูบนโต๊ะ (Desk Map)
-                   แผนที่แขวนผนัง (Wall Map)
-                   แผนที่ประกอบหนังสือหรือตำรา (Map in Textbook)
-                   แผนที่รวมเล่มหรือหนังสือแผนที่ (Atlas)
จำแนกตามลักษณะเนื้อหา
1. แผนที่ประวัติศาสตร์
2. แผนที่แสดงเนื้อหาทางด้านภูมิศาสตร์
3. แผนที่โครงร่าง แสดงเฉพาะโครงร่างหรืออาณาเขต
-แผนที่แสดงข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- แผนที่แสดงข้อมูลทางการเมือง
- แผนที่แสดงภูมิอากาศ
- แผนที่แสดงภาพถ่ายดาวเทียม
ลูกโลก
 เป็นวัสดุสามมิติประเภทหุ่นจำลองแบบย่อส่วน โดยย่อส่วนหรือลดขนาดของโลก อาศัยมาตราส่วนกำหนดขนาด และระยะทางที่ใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุด
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่และลูกโลก
           - เครื่องหมายแสดงทิศ
           - ทางรถยนต์
           - ทางรถไฟ
           - เส้นแบ่งอาณาเขต
           - แม่น้ำ
           - จังหวัด
           - อำเภอ
ลักษณะของแผนที่และลูกโลกที่ดี
           - มีมาตราส่วนที่ถูกต้อง
           - แสดงรายละเอียดในเนื้อหาที่จัดทำได้อย่างชัดเจน
           - ควรมีขนาดใหญ่เห็นได้อย่างชัดเจน
           - มีคำบรรยายประกอบสัญลักษณ์
           - ควรมีความแข็งแรงทนทาน
ภาพโฆษณา
       ภาพโฆษณา เป็นทัศนวัสดุที่ใช้แสดงความคิดหรือข้อเท็จจริงด้วยสัญลักษณ์ ภาพประกอบที่สะดุดตา คำขวัญที่กินใจ หรือคำอธิบายสั้นๆ โดยการออกแบบที่ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นในระยะเวลาอันสั้น สามารถเข้าใจได้ง่าย จดจำได้อย่างรวดเร็ว โดยภาพโฆษณามีประโยชน์ ต่อการเรียนการสอนดังนี้
ประโยชน์ของภาพโฆษณาต่อการเรียนการสอน
1. ใช้เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนได้อย่างเป็นอย่างดี จะช่วยเร้าความสนใจผู้เรียน
2.ใช้เป็นเครื่องเตือนใจ กระตุ้น ระมัดระวัง ในการประพฤติปฏิบัติ
3.ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีภายในห้องเรียน
4.ใช้ประกาศข่าวสารต่างๆ 
ลักษณะของภาพโฆษณาที่ดี
1. มีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน ออกแบบง่ายไม่ซับซ้อน
2. เร้าความสนใจผู้พบเห็น ด้วยภาพ ข้อความที่สะดุดตา สะดุดความคิด ชวนให้ติดตาม
3. ใช้ภาพประกอบง่าย สีเด่น สะดุดตา ชวนดู
4. ควรมีขนาดใหญ่ ประมาณ 22 - 44 นิ้ว
5. ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างรวดเร็วและตรงประเด็น
6. ข้อความที่ใช้ควรกระชับ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย ตรงใจผู้อ่าน ชวนให้คิด และมีขนาดที่เหมาะสม
การ์ตูน
          การ์ตูน เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เป็นต้น เพื่อถ่านทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใน ให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน
การแบ่งประเภทการ์ตูน
1. การ์ตูน (Cartoons) เป็นภาพการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นแนวความคิดเดียว โดยเขียนเพียงกรอบเดียวหรือภาพเดียวเท่านั้นก็สามารถสื่อความหมายได้
2. การ์ตูนต่อเนื่อง (Comic Strips) เป็นภาพการ์ตูนที่เขียนขึ้นเพียง 3-4 กรอบ เป็นตอนๆ แต่สามารถสื่อความหมายของเรื่องราวต่างๆ ได้
3. การ์ตูนเรื่อง (Comic Books) คือภาพการ์ตูนที่ต่อเนื่องกันหลายๆ ภาพเพื่อเสนอเรื่องราวเป็นเรื่องยาวๆ เล่มเดียวจบหรือมีหลายเล่มก็ได้
4. การ์ตูนลายเส้น (Stick Figures) เป็นภาพการ์ตูนลายเส้นโดยใช้เส้นง่ายๆ แสดงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรืออากับกริยาของคนหรือสัตว์ โดยเข้าใจได้จากลายเส้นที่เขียนขึ้นอย่างง่ายๆ เฉพาะส่วนที่สำคัญเท่านั้น
ประโยชน์ของการ์ตูนต่อการเรียนการสอน
1. ใช้เร้าความสนใจเพื่อช่วยในการนำเข้าสู่บทเรียน
2. ใช้อธิบายหรือประกอบการอธิบายให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น
3. ใช้เป็นกิจกรรมของนักเรียนในระดับเด็กเล็ก
4. เป็นสื่อที่ช่วยสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ผู้เรียนมีความสนุกสนาน และยังผ่อนคลายความตึงเครียดในการเรียนการสอนด้วย
ลักษณะของการ์ตูนที่ดี
-                   แสดงภาพได้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการ ผู้ดูเข้าใจความหมายถูกต้องตรงกัน
-                   ภาพที่เขียนต้องเป็นภาพง่ายๆ แสดงหรือให้รูปแบบเฉพาะที่ต้องการแสดงออกเท่านั้น
-                   การ์ตูนแต่ละภาพควรให้ความหมายเดียวเท่านั้น
-                   คำบรรยายควรสั้น กะทัดรัดแต่มีความหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น